ด้วยตระหนักถึงปัญหาของกระบวนการผลิตและการพัฒนากำลังคนของประเทศ โดยที่ผ่านมาประเทศไทยใช้คุณวุฒิการศึกษาในระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยวัดระดับความสามารถของบุคคลและประเมินการจ้างงานเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่พบปัญหาว่าบุคคลเหล่านี้ยังไม่มีสมรรถนะพร้อมที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ได้ทันที สาเหตุหลักมาจากหลักสูตรที่เรียนมาไม่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ การจัดการเรียนการสอนยังเน้นภาคทฤษฎีเป็นหลัก จึงทำให้สถานประกอบการต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมให้กับบุคลากรใหม่เหล่านี้เพื่อให้ทำงานในหน้าที่นั้น ๆ ได้
นอกจากนี้ จากการที่ประเทศไทยเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อให้ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายกำลังคนในวิชาชีพต่าง ๆ แรงงานไทยสามารถออกไปแสวงหาโอกาสในกลุ่มประเทศอาเซียนได้อย่างเสรี ซึ่งแรงงานเหล่านี้อาจต้องได้การรับรองด้านคุณวุฒิและความสามารถในระบบที่น่าเชื่อถือและเป็นยอมรับในระดับสากล แต่ระบบการวัดประเมินความสามารถของกำลังคนของประเทศไทยยังไม่มีกฏเกณฑ์ที่ชัดเจน ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบอาชีพของไทยและแรงงานไทยเสียโอกาสได้
ด้วยเหตุนี้ การจัดทำระบบมาตรฐานอาชีพฐานสมรรถนะ หรือระบบคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์สำหรับวัดประเมินและให้การรับรองความสามารถของกำลังคน รวมทั้งสามารถใช้เทียบเคียงกับระบบคุณวุฒิแห่งชาติ พร้อมกับเชื่องโยงไปสู่ระบบคุณวุฒินานาชาติได้นั้น เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน โดยการพัฒนาและจัดทำมาตรฐานอาชีพนั้นต้องมาจากองค์กร สมาคมวิชาชีพ ที่เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบการ เพราะเป็นทั้งผู้ใช้และผู้ปฏิบัติงาน ย่อมรู้ดีที่สุดว่าสมรรถนะของอาชีพตนเองที่จะนำมากำหนดเป็นมาตรฐานอาชีพ และนำไปใช้เป็นพัฒนากลุ่มอาชีพของตนนั้นควรเป็นอย่างไร กลุ่มอาชีพบริการยานยนต์เป็นสาขาอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศ การจัดทำโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสาขาอาชีพบริการยานยนต์ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีกำหนดการจัดทำให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557
การจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพบริการยานยนต์ แบ่งระยะการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
การศึกษากรอบการพัฒนามาตรฐานอาชีพ การประชาสัมพันธ์โครงการ และการคัดเลือกกลุ่มบุคคลเป้าหมายเพื่อพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสาขาบริการยานยนต์
การจัดทำร่างมาตรฐานอาชีพและการกำหนดคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพบริการยานยนต์
การพัฒนาคู่มือการประเมินและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมาตรฐานอาชีพ สาขาอาชีพบริการยานยนต์
รายละเอียด | ระยะเวลาและการดำเนินงาน (เดือน/พ.ศ.) | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
10/56 | 11/56 | 12/56 | 1/57 | 2/57 | 3/57 | 4/57 | 5/57 | 6/57 | 7/57 | 8/57 | 9/57 | |
1. การประชาสัมพันธ์โครงการ | ||||||||||||
2. ประสานงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ||||||||||||
3. ประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเชิญชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำมาตรฐานอาชีพ | ||||||||||||
4. การศึกษา/วิเคราะห์ข้อมูล มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพในต่างประเทศ | ||||||||||||
5. นำเสนอผลการศึกษาต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกับคณะกรรมการ | ||||||||||||
6. จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อนำเสนอผลการดำเนินการ | ||||||||||||
7. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้าง Functional Mapping | ||||||||||||
8. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ | ||||||||||||
9. การประชุมประชาพิเคราะห์ | ||||||||||||
10. การประชุมออกแบบเครื่องมือประเมินสมรรถนะ | ||||||||||||
11. การประชุมทดสอบคุณภาพเครื่องมือประเมินสมรรถนะ | ||||||||||||
12. การทดลองใช้เครื่องมือประเมินสมรรถนะและสรุปผล | ||||||||||||
13. จัดประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่มาตรฐานอาชีพ | ||||||||||||
14. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ |
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์ที่ได้ดำเนินการจัดทำเสร็จแล้วในปีงบประมาณ 2557 มุ่งเน้นเฉพาะกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ประกอบด้วย การปฏิบัติงานด้านการซ่อมบำรุงรักษารถยนต์ ด้านการซ่อมตัวถังและสี ด้านการซ่อมเครื่องยนต์ ด้านการซ่อมไฟฟ้ารถยนต์ ด้านการซ่อมช่วงล่าง บังคับเลี้ยว และระบบส่งกำลัง และด้านการติดตั้งแก๊สในรถยนต์
คุณวุฒิวิชาชีพที่ครอบคลุม ได้แก่
การจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสาขาอาชีพบริการยานยนต์ ทั้ง 13 อาชีพนี้ ได้ดำเนินการเสร็จแล้วพร้อมเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะทุกระดับอาชีพ รวมถึงการพัฒนาคู่มือการประเมินด้วย